วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน่วยความจำเสมือน virtual Memory คืออะไร


         มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า 
Virtual Memory คืออะไร ขออธิบายแบบง่าย ๆ ลองนึกภาพว่าหากเรามีหน่วยความจำหรือ RAM ใส่อยู่ในครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่ง เช่น 32MB. เมื่อใช้งาน Windows จริง ๆ แล้วการทำงานองWindows หรือระบบซอฟต์แวร์จะต้องทำการโหลดข้อมูลทุก ๆ อย่างไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือ RAM ก่อนแล้วซีพียูจึงจะทำการประมวลผลจากข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วเฉพาะ Windows อย่างเดียวก็กินพื้นที่ของ RAM ไปมากพอแล้ว นอกจากนั้นยังต้องมีพื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูลและรับโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นRAM ขนาด 32MB. ย่อมไม่พอใช้งานแน่นอนแต่ใน Windows ก็มีระบบการจัดการกับ RAM ที่มีจำนวนน้อยนิดนี้ได้โดยจะทำการเขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้งานในขณะนั้นลงเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ชั่วคราวก่อน เมื่อต้องการใช้งานข้อมูลในส่วนนี้จึงจะทำการอ่านขึ้นมาใช้งานโดยจะทำการอ่านและเขียนแบบนี้สลับกันไปตามความต้องการใช้งานของข้อมูลเราเรียกการทำงานแบบนี้ว่าการทำ Swap File ซึ่งจะทำให้เราสามารถรันซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ หรือรันซอฟต์แวร์พร้อม ๆ กันหลาย ๆ ตัวได้
         ในระบบ Windows ที่ทำการติดตั้งแบบมาตราฐานทั่ว ๆ ไป การตั้งค่าจำนวนของฮาร์ดดิสก์ที่จะสำรองไว้สำหรับทำ Swap File นี้จะถูกจัดการโดย Windows ซึ่งจะทำการปรับเปลี่ยนขนาดของ Swap File อัตโนมัติตามขนาดของหน่วยความจำหรือจำนวนพื้นที่ที่ต้องการรันซอฟต์แวร์ในขณะนั้น นอกจากนี้เรายังสามารถทำการกำหนดขนาดของ Swap File ที่ว่านี้ให้มีขนาดคงที่จำนวนหนึ่งได้ด้วยโดยหากทำการกำหนดขนาดของ Swap File ให้คงที่แล้ว Windows ก็จะใช้งานไฟล์ในขนาดที่ได้ทำการกำหนดไว้แล้วเท่านั้น

ข้อเปรียบเทียบการกำหนด
 Swap File ทั้ง แบบ

การกำหนด 
Swap File โดยอัตโนมัติจาก Windows
         1. ไฟล์จะมีขนาดเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ ทำให้ Windows สามารถใช้งานพื้นที่ทั้งหมดของฮาร์ดดิสก์มาเป็นSwap File ได้
         2. เมื่อไฟล์มีการปรับเปลี่ยนขนาดอยู่ตลอดเวลาจะทำให้การจัดเรียงข้อมูลของไฟล์บนฮาร์ดดิสก์กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่อง
         3. การอ่านและเขียนข้อมูลของ Swap File จะทำได้ช้าลงเพราะไฟล์มีการกระจายมากขึ้น

การกำหนด 
Swap File ให้มีค่าคงที่
         1. ไฟล์จะมีขนาดคงที่ ทำให้เรากำหนดและคำนวนการใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่เหลือได้
         2. ข้อมูลของไฟล์จะไม่กระจายมากนัก เพราะจะใช้พื้นที่เดิม ๆ ที่ได้กำหนดขนาดไว้แล้วในการเก็บข้อมูล
         3. การอ่านและเขียนข้อมูลของ Swap File จะเร็วขึ้นเพราะไฟล์มีการกระจายน้อยลง

วิธีการตั้ง 
Swap File หรือ Virtual Memory
         วิธีการตั้งการใช้งาน Virtual Memory ทำได้โดย เริ่มต้นจากการเรียก Control Panel โดยกดเลือกที่ Start menu >> Settings และเลือกที่ Control Panel เลือกที่เมนูของ System คลิกที่ป้าย Performance เลือกที่ Virtual Memory จะได้หน้าตาดังรูปที่เมนูของ Virtual Memory มีความหมายดังนี้
         Let Windows manage... เลือกตรงนี้ถ้าต้องการให้ Windows จัดการ virtual memory อัตโนมัติ
         Let me specify my own... เลือกที่นี่ ถ้าต้องการกำหนดขนาดของ virtual memory เป็นค่าคงที่เอง
         Harddisk เลือกฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการทำ Virtual Memory หรือ Swap File
         Mimimun กำหนดขนาดต่ำสุดของ Swap File
         Maximum กำหนดขนาดสูงสุดของ Swap File
         Disable virtual memory คือการกำหนดให้ไม่ใช้ virtual memory (จะใช้ RAM จริง ๆ เท่านั้น)

         หลักการกำหนดขนาดของ virtual memory ควรจะกำหนดให้ minimum และ maximum มีขนาดเท่ากันเพื่อให้ Swap File มีขนาดคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยขนาดที่แนะนำให้ใช้คือ ถ้าเครื่องมีแรมอยู่น้อยกว่า 64M ควรใส่เป็น 128 แต่ถ้าเครื่องมีแรม 128M หรือมากกว่านี้ควรใส่เป็น 256 โดยประมาณและนอกจากนี้ ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ตัวที่มีความเร็วมากที่สุดสำหรับทำ Swap File เพื่อเพิ่มความเร็วในการใช้งาน Windows หลังจากที่ใส่ค่าตามต้องการแล้วก็กด OK จะมีเมนูยืนยันการเลือกอีกครั้งก็กด Yes และเมื่อปิดหน้าจอของการเลือก Windows จะต้องทำการRestart ใหม่ครั้งหนึ่ง การตั้งค่าต่าง ๆ จึงจะมีผล
         เราสามารถดูขนาดของ Swap File ได้โดยที่เมื่อกำหนดแล้วโดยจะเห็นเป็นไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ชื่อ Win386.swpซึ่งหากลบทิ้งไป Windows ก็จะทำการสร้างขึ้นมาใหม่โดยอัตโนมัติ

ข้อแนะนำเพิ่มเติมของการทำ 
Virtual Memory
         การตั้ง Virtual Memory คือการจำลองพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์มาใช้งานแทน RAM ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุดจะต้องหาทางทำให้พื้นที่ที่กำหนดให้เป็น Swap File เป็นพื้นที่ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ตัวที่มีการอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วที่สุดมาดูหลักการต่าง ๆ ของการกำหนดใช้ virtual memory ที่ถูกต้องว่ามีอะไรบ้าง

พื้นที่ส่วนไหนของฮาร์ดดิสก์ที่มีการอ่านเขียนได้เร็วที่สุด
         ลองนึกภาพฮาร์ดดิสก์ 1 ตัวที่มีจานดิสก์เป็นรูปวงกลมหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูงและมีหัวอ่านที่เคลี่อนย้ายไปมาเพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล จะเห็นได้ว่าในการหมุนของจานดิสก์ รอบ พื้นที่ข้อมูลที่อยู่รอบนอกสุดจะสามารถอ่านได้จำนวนมากกว่าพื้นที่ที่อยู่ด้านในของจานฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นหากเราสามารถกำหนดให้ Swap File อยู่ในส่วนของพื้นที่นอกสุดได้มากเท่าไรอัตราการอ่านเขียนข้อมูลก็จะทำได้เร็วมากขึ้นในการแบ่งฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ พาร์ติชัน การใช้งานพื้นที่ของพาร์ติชันแรกจะอยู่นอกสุดและพาร์ติชันถัดไป จะใช้พื้นที่ส่วนที่อยู่รอบในถัดเข้ามาเรื่อย ๆ

กรณีที่มีฮาร์ดดิสก์ 
ตัว
         หากใครมีฮาร์ดดิสก์ต่ออยู่ ตัว ก็เป็นไปได้ที่จะกำหนดให้ใช้พื้นที่ส่วนนอกสุดของฮาร์ดดิสก์ตัวที่ มาทำเป็นVirtual Memory เพราะว่าจะเป็นส่วนสามารถอ่านเขียนข้อมูลที่เร็วที่สุดทั้งนี้จะใช้ได้ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ทั้ง ตัวมีความเร็วพอ ๆ กันด้วย ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ตัวที่ เป็นฮาร์ดดิสก์เก่าหรือมีความเร็วช้ากว่าตัวแรกก็แนะนำให้ไปทำในฮาร์ดดิสก์ตัวแรกดีกว่า

จะแบ่งพาร์ติชัน สำหรับทำ 
virtual memory ต่างหากไปเลย
         บางคนบอกว่าถ้าอย่างนั้นจัดการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ให้เป็นหลาย ๆ พาร์ติชันและตั้งให้ทำ Virtual Memory หรือ Swap File ในพาร์ติชันที่แบ่งไว้โดยเฉพาะไปเลยจะดีไหม ก่อนอื่นต้องมาดูกันก่อนว่าการแบ่งพาร์ติชันนั้น ในพาร์ติชันแรกจะใช้พื้นที่นอกสุดของฮาร์ดดิสก์และพาร์ติชันถัดไปก็จะใช้พื้นที่ในส่วนรอบในของจานฮาร์ดดิสก์เข้าไปเรื่อย ๆ ดังนั้นสรุปว่าพาร์ติชันแรกสุดของฮาร์ดดิสก์จะมีอัตราการอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วที่สุดหากจะแบ่งพาร์ติชันสำหรับทำ Swap File ในพาร์ติชันแรกก็เป็นการกระทำที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากคิดจะแบ่งพาร์ติชันและเก็บการทำSwap File ไปไว้ในพาร์ติชันถัดไปอันนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะความเร็วการอ่านเขียนข้อมูลของพาร์ติชันถัดไปนี้จะช้ากว่าการอ่านเขียนข้อมูลของพาร์ติชันแรกในเรื่องนี้ ขอแนะนำว่าไม่มีความจำเป็นถึงขนาดนั้นเพียงแต่ว่าถ้าหากมีฮาร์ดดิสก์แค่ตัวเดียวก็ให้ทำ Swap File ไว้ในพาร์ติชันแรกของฮาร์ดดิสก์ตัวนั้นก็เพียงพอแล้ว

การใช้โปรแกรมบางประเภท ทำการย้าย 
Swap File มาไว้ส่วนแรกสุดของฮาร์ดดิสก์
         จะมีซอฟต์แวร์บางตัวเช่น Norton Speed Disk มีความสามารถในการย้ายส่วนของ Swap File มาไว้ในส่วนแรกสุดของฮาร์ดดิสก์เพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้นอันนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Virtual Memory ได้ ซึ่งเท่าที่ทราบมาโปรแกรม Defrag ของ Windows ไม่มีความสามารถในส่วนนี้




ข้อมูลจาก http://www.com-th.net

วิธีกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียแล้ว


 พวกเราหลายคนเคยเจอ harddisk เสียกันมาแล้ว ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายของมันก็เสียกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้าบอกเราว่า harddisk ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้เราไม่สามารถกู้ข้อมูลที่มีค่า และมีความหมายต่อเราออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่ายต่าง ๆ ที่อุตส่าห์ถ่ายเก็บไว้มาหลายปี หรือข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น
ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่างพึ่งตกใจไป เพราะคุณสามารถกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียไปแล้วได้ด้วยตัวคุณเอง อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ harddisk ที่เสียชนิดที่ตัว disk ข้างในไม่ยอมหมุน หรือมีการชำรุดทางกายภาพของตัว harddisk ถ้าเสียแบบนี้ก็คงทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก หากปัญหาของคุณเกิดจากการที่ตัว harddisk ได้รับการชำรุดเสียหายทางกายภาพแบบนี้แล้ว ให้คุณติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการกู้ข้อมูลดีกว่า
ถ้าคุณเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้า ก่อนที่จะทำการ boot เข้า Windows โดยปกติแล้วมักจะแปรว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหา และถ้า harddisk ของคุณเสียขึ้นมาหน้าจอสีฟ้าที่ว่านี้ก็จะแสดงขึ้นมาเช่นกัน เพราะระบบไม่สามารถทำการ boot ตัว Windows ซึ่งเป็น Operating System ขึ้นมาได้
ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของ harddisk driver หรืออาจจะเกิดจากปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างตัวคอมพิวเตอร์กับ harddisk ก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนเริ่มต้นขั้นตอนต่าง ๆ คุณควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า harddisk ได้เสียบสายเชื่อมต่อเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาดแต่อย่างใด ถ้าหากว่าสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ไม่ได้หลวมหรือมีปัญหา ก็สามารถทำตามคำแนะนำในบทความนี้ได้เลย
เมื่อเกิดปัญหาคอมพิวเตอร์ boot ไม่ได้เนื่องจาก harddisk มีปัญหา ก่อนที่จะเข้าหน้าจอแจ้งเตือนปัญหาสีฟ้า ที่หน้าจอสีดำซึ่งแสดงเมื่อตอนเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาให้คุณเลือกไปที่ Last Known Good Configuration ซึ่งจะเริ่มการทำงานคอมพิวเตอร์ของคุณที่ข้อมูล back up ของ harddisk (แต่มันคงจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ถ้าคุณไม่เคจback up ข้อมูลไว้เลย)


โดยวิธีการนี้จะช่วยให้คุณเรียกใช้งานในสถานะที่ได้ทำการ back up ข้อมูลล่าสุดไว้ได้ แต่จะไม่ถึงกับ100% อย่างไรก็ตามคุณก็ยังได้ข้อมูลส่วนใหญ่กลับมา หลังจากนั้นให้คุณใช้ ScanDisk หรือ CheckDisk ที่มีอยู่แล้วบน Windows ทำการตรวจสอบ harddisk ของคุณอีกที
ถ้าหากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่แสดงหน้า start-up option หรือตัวเลือกต่าง ๆ ดังที่เห็นในภาพข้างบน คุณอาจจะต้อง boot คอมพิวเตอร์ผ่านแผ่น disk หรือแผ่น CD ของ Windows และเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณเปลี่ยนการ boot เครื่องให้ boot ผ่านแผ่น disk หรือแผ่น CD คุณอาจจะต้องไปที่ BIOS เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าให้ start-upทำงานที่ CD-ROM Drive
เมื่อคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถ boot ผ่านแผ่นโปรแแกรม Windows Disk จะมี option ให้คุณเลือกซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Recovery Console ให้คุณเลือกอันนี้โดยการกด “R” ดังตัวอย่างที่เห็นในรูป


จากนั้นหน้าจอจะไปสู่หน้าสีดำที่มีตัวหนังสือสีขาว เมื่อขึ้นหน้าจอสีดำแล้วให้คุณพิมพ์ chkdsk/r เพื่อเริ่มต้นการทำงาน CheckDisk ซึ่งสามารถช่วยในการตรวจสอบปัญหา และซ่อมแซม harddisk ได้ หลังจากที่คุณทำการCheckDisk ไปเรียบร้อยแล้วถ้าได้ผลคอมพิวเตอร์ของคุณจะทำการ reboot แล้วทำงานได้เป็นปกติ อย่างไรก็ตามจะเป็นการดีที่สุดถ้าคุณพยายาม back up ข้อมูลไว้เป็นระยะ ๆ เนื่องจากการใช้วิธีนี้ได้ผลแค่ครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้นถ้าอาการเกิดขึ้นบ่อย ๆ แนะนำให้ซื้อ harddisk ใหม่ไปเลยดีกว่า แล้วค่อยโอนข้อมูลที่ได้ทำการ back up ไว้แล้วถ่ายโอนไปที่ harddisk ลูกใหม่
ถ้าใช้วิธี CheckDisk แล้วไม่ได้ผลให้กลับไปเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงหน้าจอ Recovery Console แล้วให้เลือก Fixboot ซึ่งถ้าคุณเลือกตัวนี้มันจะทำการ rewrite ตัว startup sector บน harddisk ขงอคุณใหม่ และถ้าคุณเลือก Fixmbr ระบบก็จะทำการซ่อมแซม Master Boot Record
ที่กล่าวมาสองตัวหลังนี้เป็นคำสั่งการทำงานที่ค่อนข้างจะ advance ซักหน่อย จำไว้ว่าถ้าคุณเลือกสองข้อนี้ก็ต้องลุ้นกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ถ้ามันไม่ได้ผลจริง ๆ ให้คุณถอด harddisk ออกมาแล้วทำการต่อ harddisk ตัวนี้เข้ากับ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่าน USB port ซึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมอง harddisk ที่ต่อผ่าน USB port เป็น slave หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือเอา harddisk ออกมาแล้วทำเป็น external harddisk เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อทดลองอ่านข้อมูลนั่นเอง



ข้อมูลจาก : www.techxcite.com

ระบบเครือข่ายไร้สาย คืออะไร

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)


ประวัติความเป็นมา
             ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบBi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu

ความหมาย
             ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศทะลุกำแพงเพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย

             ที่สำคัญก็คือ การที่ไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สายที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์

             ปัจจุบันโลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องปาล์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
             หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
             นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน้ตบุ๊กเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ตจากสนามหญ้าในมหาลัยได้

             นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว


ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย 
             1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด
ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
             2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
             3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
             4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
             5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
             ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย 
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )

             

             รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุมหรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2 Client/server (Infrastructure mode) 

             

             ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ 
Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัยAccess Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต,ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
2.3 Multiple access points and roaming
             

             โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ 
Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง 

2.4 Use of an Extension Point 

             

             กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้
 Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ
2.5 The Use of Directional Antennas
             

             ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

     มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 

             เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3ประเภทให้เลือกใช้งานอันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วน.ในระดับชั้นMAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย

มาตรฐาน IEEE 802.11
             ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชันหลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น

IEEE 802.11a
             เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย

IEEE 802.11b
             เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11bก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้

IEEE 802.11g
             เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11bเนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)

IEEE 802.11e
             เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชันทางด้านมัลติเมียอย่าง VoIP (Voice over IP) เพื่อควบคุมและรับประกันคุณภาพของการใช้งานตามหลักการ QoS (Quality of Service) โดยการปรับปรุง MAC Layer ให้มีคุณสมบัติในการรับรองการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ

IEEE 802.11f

             มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขตการให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point เพื่อให้บริการในแบบโรมมิงสัญญาณระหว่างกัน

IEEE 802.11h

             มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ให้ทำงานถูกต้องตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศในทวีปยุโรป





ที่มา:http://www.dol.go.th/it/index.php?option=com_content&task=view&id=115

LAN โปรโตคอล คืออะไร


โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ

แนวคิด
ด้านสื่อสารข้อมูล

         
หัว
ใจในการสื่อสารข้อมูลอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยเน้นการสื่อสารที่แตกต่างกันทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรมยี่ห้อหนึ่ง ติดต่อผ่านข่ายสื่อสารไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกยี่ห้อหนึ่ง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงในระบบสื่อสารที่มาจากหลายบริษัทผู้ผลิต

         
ด้วย
แนวคิดนี้ องค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม ISO จึงได้วางมาตรฐาน โปรโตคอล ไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่าง ๆ ยึดหลักการนี้และเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI PROTOCOL โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น

        
 การ
วางมาตรฐานโปรโตคอลต่าง ๆ ของเครือข่าย LAN จะอยู่ในระดับล่าง 2 ระดับเท่านั้น โดยเน้นที่รูปร่างลักษณะของอุปกรณ์ รวมถึงรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งรับกันโดยมาตรฐานโปรโตคอล ส่วนนี้จะกำหนดในระดับ 1 (Physical) และวิธีการจะทำให้ข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์หนึ่งส่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งภายในเครือข่ายเดียวกัน อยู่ในโปรโตคอลระดับ 2 เรียกว่า "ระดับดาต้าลิงค์ (Data Link)

การ
ทำงานของระดับโปรโตคอลใน LAN

         ระบบ LAN ที่
นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Ethernet, Token Ring และ FDDI โปรโตคอลที่ใช้ประกอบเป็น LAN ตามมาตรฐานข้อกำหนด จึงจัดอยู่ในระดับโปรโตคอลระดับ 1 และ 2 เท่านั้น

         อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็น LAN ที่
มีผู้นิยมใช้กันมาก อีเทอร์เน็ตมีโปรโตคอลในระดับชั้นฟิสิคัล (Physical) ได้หลายรูปแบบ ตามสภาพความเร็วของการรับส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณและตัวกลางที่ใช้รับส่ง การกำหนดชื่อของ LAN แบบนี้ใช้วิธีการกำหนดเป็น XXBASEY เมื่อ XX คือความเร็ว BASE คือวิธีการส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Baseband ส่วน Y คือตัวกลางที่ใช้ส่งสัญญาณ เช่น 10BASE2 หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบ Thin Ethernet ตัวกลางเป็นสายโคแอกเชียล 10BASE-T หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบสาย UTP และถ้า 10BASE-FL ก็จะเป็นการใข้สายเส้นใยแก้วนำแสง

         สัญญาณ
ทางไฟฟ้าของอีเทอร์เน็ตเป็นแบบดิจิตอล จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางที่ใช้ระเบียบข้อกำหนดเหล่านี้จึงอยู่ในกลุ่มโปรโตคอลระดับฟิสิคัล ส่วนในระดับโปรโตคอลดาต้าลิงค์เป็นวิธีการกำหนดแอดเดรสระหว่างกันในเครือข่าย ซึ่งแต่ละสถานีจะมีแอดเดรสเป็นตัวเลขขนาด 48 บิต การรับส่งเป็นการสร้างข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเรียกว่า "เฟรม" การส่งข้อมูลมีวิธีการใส่ข้อมูลแอดเดรสต้นทางและปลายทางและส่งกระจายออกไป ผู้รับจะตรวจสอบแอดเดรสของเฟรมถ้าตรงกับแอดเดรสตนก็จะรับข้อมูลเข้ามา

        
 FDDI เป็น LAN อีกชนิด
หนึ่งที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางมีความเร็วในการรับส่ง 100 เมกะบิตต่อวินาที รูปแบบของเครือข่ายเป็นแบบวงแหวน การรับส่งภายในวงแหวนใช้โปรโตคอลแบบโทเก็นพาสซิ่ง (Token Passing)

         โทเก็นริ
ง (Token Ring) ระบบ LAN ที่ใช้โครงสร้างเชื่อมโยงแบบวงแหวน แต่ใช้ตัวกลางเป็นสาย UTP การรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Baseband ความเร็วในการรับส่งมีทั้งแบบ 4 เมกะบิตต่อวินาที และ 16 เมกะบิตต่อวินาที

         การ
กำหนดโปรโตคอลใน FDDI และ Token Ring ในระดับดาต้าลิงค์ ใช้รูปแบบข้อมูลเป็นเฟรม อุปกรณ์แต่ละตัวมีแอดเดรสประจำ การรับส่งข้อมูล ส่งต่อตามบำดับตามเส้นทางของสายต่อที่เป็นวงแหวน ตัวรับจะตรวจสอบแอดเดรส ซึ่งตัวตรงกับของตนก็จะคัดลอกข้อมูลขึ้นมา แล้วตอบรับว่าได้รับข้อมูลนั้นแล้ว

         จะ
เห็นได้ชัดว่า โปรโตคอลของ LAN ใน 2 ระดับล่าง เป็นการสื่อสารกันในกลุ่มของตนเอง ภายใต้กลุ่ม LAN นั้น ๆ เท่านั้น เช่น ถ้าเป็น Ethernet ก็จะสื่อสารกันในอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในกลุ่มนั้นเท่านั้น

         เมื่อ
นำ LAN ต่างกลุ่มมาต่อเชื่อมรวมกัน การเชื่อมรวมกันนี้อาจเป็น LAN ที่ใช้โปรโตคอลเหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ เช่น นำ Ethernet มาเชื่อมต่อกับ Ethernet หรือ Ethernet กับ Token Ring การเชื่อมต่อระหว่าง LAN ด้วยกันนี้ จำเป็นต้องมีโปรโตคอล ช่วยในการติดต่อระหว่างกัน โปรโตคอลในระดับนี้จึงอยู่ในชั้นระดับสามคือ โปรโตคอลชั้นเน็ตเวิร์ค

โปรโตคอลชั้นเน็ตเวิร์ค

         ใน
ระดับสามนี้ทำหน้าที่เชื่องโยงระหว่างเครือข่ายย่อย เราอาจเรียกโปรโตคอลนี้ว่า เราติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) การกำหนดเส้นทางนี้จะต้องวางมาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมโยงอุปกรณ์ ซึ่งมาจากระดับล่างหลาย ๆ มาตรฐาน วิธีการหนึ่งที่นิยมคือ การกำหนดแอดเดรสของอุปกรณ์ระดับล่างใหม่ และให้แอดเดรสเป็นมาตรฐานกลาง เช่น การใช้โปรโตคอลดินเตอร์เน็ต (IP) ทุกอุปกรณ์มีแอดเดรสของตนเองมีการสร้างรูปแบบฟอร์แมตข้อมูลใหม่ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) ดังนั้น โปรโตคอลในระดับนี้จึงรับส่งข้อมูลกันเป็นแพ็กเก็ต ทุกแพ็กเก็ตมีการกำหนดแอดเดรสต้นทางและปลายทางโดยไม่ต้องคำนึงว่าระดับล่างที่ใช้นั้นคืออะไร

         อุปกรณ์
ที่ทำหน้าที่รับส่ง และรับรู้โปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คนี้จะทำหน้าที่เป็นแปลงแพ็กเก็ตให้เข้าสู่เฟรมข้อมูลในระดับสอง และรับเฟรมข้อมูลระดับสองเปลี่ยนมาเป็นแพ็กเก็ตในระดับสามเช่นกัน ข้อเด่นในที่นี้ คือ ทำให้สามารถเชื่อม LAN ทุกมาตรฐานเข้าด้วยกันได้ ในระดับนี้ยังมีมาตรฐานโปรโตคอลอื่น ๆ เช่น IPX ของบริษัทแน็ตแวร์ เป็นต้น

         ลอง
นึกเลยต่อไปว่า ขณะที่เราใช้โปรแกรมวินโดว์ส 95 เป็นเครื่องไคลแอนต์ (Client) ต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเชื่อมไปยังเครื่องให้บริการ (เซิร์ฟเวอร์) เครื่องใดเครื่องหนึ่ง นั่นหมายความว่า เราเชื่อมกันในระดับ 3 คือใช้ IP โปรโตคอล ทำให้ไม่ต้องคำนึงว่าทางฝ่ายไคลแอนต์หรือเซิร์ฟเวอร์ใช้ LAN แบบใด

         เครื่องไคล
แอนต์ที่ใช้วินโดว์ส 95 ทำให้สามารถเปิดงานได้หลาย ๆ วินโดว์สพร้อมกันได้ ดังนั้นในเครื่องหนึ่งมีแอดเดรสในระดับสามตัวเดียว เชื่อมไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีแอดเดรสในระดับสามตัวเดียวเช่นกัน แต่เปิดงานหลายงานได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างโปรโตคอลในระดับสี่ แยกงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกจากกันเราเรียกว่า โปรโตคอลระดับ 4 ว่า "ทรานสปอร์ต" (Transport)"

         ใน
ระดับ 4 ก็มีแอดเดรสแยกอีก แต่คราวนี้เราเรียกว่า "หมายเลขพอร์ต" ซึ่งจะทำให้ตัวรับและตัวส่ง ทั้งฝ่ายไคลแอนต์และเซิร์ฟเวอร์ติดต่อแอดเดรสIP เดียวกัน แต่แยกกันด้วยโปรโตคอลระดับ 4 ในกรณีของอินเทอร์เน็ตจึงมีโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) เป็นตัวแยกที่ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องอื่นได้หลาย ๆ งานพร้อมกัน

         การ
แบ่งแยกกลุ่มโปรโตคอลนี้เป็นหนทางอันชาญฉลาดของผู้ออกแบบที่ทำให้ระบบสื่อสารข้อมูลดำเนินไปอย่างมีระบบ จนสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง


เขียนโดย : รศ.ยืน ภู่วรวรรณ